Tracking force

........................ Tracking force........................

น้ำหนักกดของปลายเข็มที่กระทำกับร่องของแผ่นเสียง

       น้ำหนักกดของหัวเข็มที่ชั่งบนตราชั่ง กับน้ำหนักกดขณะที่ทำการเล่น จะมีค่าที่ไม่เท่ากัน....เพราะน้ำหนักกดของหัวเข็มขณะทำการเล่นจะมีแรงฉุดและแรงเสียดทานเป็นตัวแปรที่บวกเพิ่มเข้ามา....เป็นเหตุผลหนึ่งที่การจูนด้วยการฟังจึงเป็นเรื่องสำคัญ

       ค่า Tracking force จะเป็นสเป็คที่กำหนดมาจากผู้ผลิต ซึ่งจะมีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันแต่จะไม่เท่ากัน น้ำหนักกดของปลายเข็มที่กระทำต่อร่องเสียงขณะทำการเล่น จะเป็นค่ากำหนดของหัวเข็มแต่ละรุ่น เพื่อประสิทธิภาพของปลายเข็มให้สามารถเกาะร่องและTracking สัญญาณที่บันทึกมาในร่องเสียงได้เหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของหัวเข็มนั้นๆ ซึ่งแรงกดจะมากหรือน้อย ก็ขื้นอยู่กับ น้ำหนักหรือมวลของหัวเข็มและความยืดหยุ่นหรือสปริงของก้านเข็ม ซึ่งลักษณะของความสัมพันธ์ จะเป็นดังนี้

      1. หัวเข็มมวลเบา Low mass ส่วนใหญ่แล้วหัวเข็มใน level นี้ จะมีน้ำหนักของหัวเข็ม ตั้งแต่ประมาณ 6 g ลงมา และมีความยืดหยุ่นหรือสปริง Compliance ค่อนข้างมาก ประมาณ 17-25x10-6 cm/dyn ...ค่า Tracking force อยู่ระหว่าง 1.8 g ลงมาถึง 0.4 g จะแม็ทชิ่งกับโทนอาร์มมวลเบา Low mass ส่วนใหญ่ที่ติดมากับเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นเล็กๆ ราคาไม่แพงโดยทั่วๆไป        2. หัวเข็มมวลปานกลาง Midium mass จะมีมวลของหัวเข็ม อยู่ระหว่าง 7 - 18 g และมีค่า compliance ตั้งแต่ 10-16x10-6 cm/dyne ค่า tracking force 1.00 -2.5 g โดยประมาณ เหมาะใช้กับโทนอาร์ม Midium mass ที่ติดอยู่บนเครื่องเล่นแผ่นเสียงระดับ mid-end ถึง hi-end เป็นส่วนใหญ่

     3. หัวเข็มมวลหนัก High mass จะมีน้ำหนักหรือมวลของหัวเข็มประมาณ 25 g ขื้นไป เช่นหัวเข็มตระกูล SPU ของ Ortofon ที่มีน้ำหนักระหว่าง 30-40 g หัวเข็มประเภทนี้จะมีค่าความยืดหยุ่นต่ำ ประมาณ 5-10x10-6 cm/dyne และจะกำหนดค่า Tracking force ค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 2.5g ขื้นไป แม็ทชิ่งกับโทนอาร์ม High mass ที่ติดอยู่กับเครื่องประเภทวินเทจ เป็นส่วนใหญ่ เช่นโทนอาร์มยี่ห้อ EMT / FR 66S /Dynavector DV 501 ซึ่งโทนอาร์มพวกนี้จะมีมวลอยู่ที่ 25 g ขื้นไป

     ฉะนั้นจึงพอสรุปได้ว่า ตัวแปรที่จะกำหนดค่า Tracking force ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ก็คือ ค่า ความยืดหยุ่น และ น้ำหนักของหัวเข็ม ตามความสัมพันธ์ ดังนี้

     1. ถ้าหัวเข็มยิ่งหนัก ค่าความยืดหยุ่นหรือสปริงของก้านเข้ม( Compliance )ก็ยิ่งต่ำ และน้ำหนักกดของปลายเข็ม( Tracking force ) จะยิ่งสูง

     2. ตรงกันข้าม ถ้าหัวเข็มยิ่งมีน้ำหนักเบา ค่าความยืดหยุ่นของก้านเข็มจะยิ่งสูงคือมีสปริงมาก และน้ำหนักกดของปลายเข็มที่กระทำกับร่องเสียง ก็จะเบาหรือน้อยตามไปด้วย

    เหตุผลที่การ finetune มีส่วนสำคัญก็เพราะว่า แม้นทางผู้ผลิตจะกำหนดค่า Tracking force ที่ดีที่สุดมาให้แล้วก็ตาม...แต่นั่นเป็นผลลัพท์โดยเฉลี่ยซึ่งส่วนใหญ่จะมีค่า +/- ประมาณ 2 g

    จริงๆถ้าไม่เรื่องมากเกินไป ปฏิบัติได้ตามคู่มือของผู้ผลิตก็ดีได้อย่างเพียงพอแล้ว ...แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ก็ต้องพิถิพิถันให้มากกว่าปกติ.....เพราะว่าโทนอาร์มแต่ละตัวจะมีมวลและโครงสร้างที่ไม่เท่ากัน.... มวลที่ไม่เท่ากัน ก็จะมีผลต่อแรงเสียดทานที่ไม่เท่ากัน แม้ว่าจะชั่งบนตราชั่งเท่ากันแล้วก็ตาม

    Tracking force ที่มากหรือน้อยเกินไปจะมีผลลัพท์ต่อคุณภาพเสียงดังนี้

           1. น้ำหนักกดเบาเกินไป ปลายเข็มจะเกาะร่องไม่สนิท ทำให้เสียงพร่า แตกปลาย อิมเมจของชิ้นดนตรีไม่นิ่ง ถ้าเบากว่ามากๆ จะเกิดอาการแผ่นเสียงตกร่อง

           2. น้ำหนักกดมากเกินไป ทำให้สปริงของก้านเข็มไม่มีอิสระ เสียงจะคมแข็ง ฟังแล้วเครียด และถ้ามากเกินไปเยอะๆ จะทำให้เป็นอันตรายต่อร่องของแผ่นเสียง

  ....... แนวทางการ finetune ...... ...

          .ตั้งค่า tracking force อ้างอิงก่อนตามที่คู่มือกำหนด ...

         .ฟังแล้วปรับจูนให้รู้สึกเสียงมีพลังและผ่อนคลาย เสียงที่มีพลังและผ่อนคลายคือ ...เสียงที่มีโทนบาล๊านส์ดี มีน้ำหนักของเสียงทุ้มแต่ไม่ทึบ ถ้าขาดน้ำหนักเบสก็แสดงว่าตั้งน้ำหนักกดน้อยเกินไป ...ค่อยๆปรับน้ำหนักเพิ่มขื้นจน เสียงทุ้มมีมวลและหัวโน๊ต โดยที่ดีเทลหรือรายละเอียดของชิ้นดนตรีจะมีตัวโน๊ตอย่างชัดเจน และนิ่ง.....ได้ยินเสียงสั่นของสายกีตาร์ เสียงร้องมีอักขระมีลูกคอ ได้ยินเสียงลมของเครื่องเป่า.....เมื่อถึงตอนนี้ทุกย่านเสียงก็จะ improve ตามขื้นมาเอง เวทีเสียงจะเปิดกว้าง ผ่อนคลายขื้นมาเองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเพิ่มน้ำหนักมากเกินไปจากตอนนี้ เสียงจะเริ่มแข็งไม่มีฮาร์โมนิค เวทีจะดูแคบลง ฟังแล้วจะเครียดไม่ผ่อนคลาย

           การ finetune น้ำหนัก tracking force ควรทำควบคู่กันไปกับการปรับ VTA

Visitors: 142,763