Phono Cartridges

Phono Cartridge

....หน้าที่หลักของหัวเข็มก็คือ การอ่านข้อมูลที่บันทึกอยู่ในร่องของแผ่นเสียง แล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อนำไปเข้ากระบวนการย่อและขยาย สำหรับส่งผ่านลำโพง มาถึงหูให้เราได้ยินได้ฟัง

...ซึ่งแบ่งตามลักษณะของการออกแบบ ได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

               1.หัวเข็มแบบ MM ( moving magnet )

 

                 หลักการทำงานคือ ปลายเข็ม styrus วิ่งอ่านสัญญาณในร่องเสียง แล้วส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนมาทางก้านเข็ม โดยที่ปลายของก้านเข็มติดไว้ด้วยแท่งแม่เหล็ก ซึ่งเคลื่อนไหวผ่านขดลวด coil แล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

              2.หัวเข็มแบบ MC ( moving coil )

 

             หลักการทำงานคือ ปลายเข็ม styrus วิ่งอ่านสัญญาณในร่องเสียง แล้วส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนมาทางก้านเข็ม โดยที่ปลายของก้านเข็มพันไว้ด้วยขดลวด ซึ่งเคลื่อนไหวผ่านแท่งแม่เหล็ก magnet แล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

             3.หัวเข็มแบบ Ml ( moving iron )

 

           หลักการทำงานคือ ปลายเข็ม styrus วิ่งอ่านสัญญาณในร่องเสียง แล้วส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนมาทางก้านเข็ม โดยที่ปลายของก้านเข็มติดไว้ด้วยแท่งเหล็กคุณภาพสูง ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านขดลวดและแท่งแม่เหล็กที่ติดไว้ในบอดี้หัวเข็มแล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

            4. หัวเข็มแบบ Optical cartridge

 

            หลักการทำงานคือ ปลายเข็ม styrus วิ่งอ่านสัญญาณในร่องเสียง แล้วส่งผ่านแรงสั่นสะเทือนมาทางก้านเข็ม โดยที่ปลายของก้านเข็มไม่มีทั้งสามอย่างข้างต้น แต่ทำงานโดยใช้ลำแสงLED ยิ่งผ่านก้านเข็มที่กำลังเคลื่อนไหวโดยให้เงาไปตกกระทบบนจอเซ็นเซอร์แล้วแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า ....จุดเด่นของหัวเข็มประเภทนี้คือ แสงที่มีความเที่ยงตรงและฉับพลันมากกว่า ความเพี้ยนน้อยกว่า แบรคกราวน์น๊อยส์ที่สงัด ทำให้ได้ยินรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้สูงมาก ....

             ถ้าเราเกิดหลงทางไปถามนักเล่นรุ่นเก่าๆที่มีอายุซัก 70 ปีขื้นไป ว่าอยากเล่นเครื่องเล่นแผ่นเสียง จะใช้หัวเข็มอะไรดี ถ้าเป็นหัวเข็มระดับต้นๆทั่วไปทีไม่ได้ไฮเอนด์มาก รับประกันได้เลยว่า 90 เปอร์เซนต์ จะตอบว่า Shure ...สาเหตุเพราะในยุคนั้นมีหัวเข็มที่ผลิตออกมาน้อยมาก ...ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยขื้น ประกอบกับความนิยมในการฟังเพลงจากแผ่นเสียงได้หวนกลับมาอย่างน่าตื่นเต้นเกินความคาดหมาย ทำให้มีการผลิตหัวเข็มคุณภาพสูงออกมาอีกอย่างมากมาย ....

           การพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่เห็นชัดๆก็คือ ปลายเข็ม (Styrus) ตัวอย่างเช่น ในยุคเรื่มต้นประมาณปี 1930 ปลายเข็มจะมีขาด 75 ไมครอน ( 3 mil ) .ต่อมาช่วงยุคก่อนปี 1960 ปลายเข็มจะมีขนาดลดลงเหลือ 25 ไมครอน และหลังจากยุค 1960 เป็นต้นมาปลายเข็มจะมีขนาด 17 ไมครอนลงมา ..จนถึงปัจจุบันหัวเข็มระดับเทพๆ จะมีปลายเข็มเล็กเพียง 4 ไมครอน คือเล็กขนาดมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นกันเลยทีเดียว ...แล้วปลายเข็มเล็กๆมันดีอย่างไร...คำตอบง่ายๆก็คือ มันสามารถเก็บรายละเอียดในร่องของแผ่นเสียงได้ลึกกว่า ทั่วถึงกว่า ได้รายละเอียดมากกว่า ( แต่อาจจะไม่ถูกใจคนฟัง อันนี้ก็ขื้นอยู่กับรสนิยม ) ...                     กายภาพร่องของแผ่นเสียง ด้านบนจะมีขนาดกว้างประมาณ 100 ไมครอน ส่วนลึกสุดจะมีขนาดแค่ 2.5 ไมครอน ( เปรียบเทียบเส้นผมของคนเราจะมีขนาดเฉลี่ย 100 ไมครอน ) ทั้งนี้ในการเลือกใช้หัวเข็ม ก็ต้องไปดูที่แผ่นเสียงให้มีความเหมาะสม เช่น แผ่นโมโน หรือสเตอริโอ แผ่นยุคไหน ก็ควรใช้ประเภทของหัวเข็มให้ตรงยุคสมัย ก็จะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุด

Visitors: 158,506